จัดทำโดย : นายอุกฤษฏ โอภาสปุญญานนท์  รหัสนักศึกษา : 6031280070

บทที่ 1 : ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    
  1. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คืออะไร ?
  - ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรม       ประยุกต์ทำหน้าที่โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ ก็ได้เช่นกัน
    การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ





  2. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร ?
ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
   2.1 การทำงานแบบ ( Multi – Tasking ) คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม


174

การทำงานแบบ Multi – Tasking

   2.2 การทำงานแบบ ( Multi – User ) ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
173
การทำงานแบบ Multi – User




  3. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรบ้าง ?
-  การจัดเตรียมบริการต่าง ๆ  ของ OS ที่มีไว้เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบ  มีดังนี้
• การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
• การประมวลผลโปรแกรม (Program execution)
• การเข้าถึงอุปกรณ์ไอโอ (Access to I/O devices )
• การควบคุมการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล (Controlled access to files)
• การเข้าถึงระบบ (System access)
• การตรวจจับข้อผิดพลาดและตอบกลับ (Error detection and response)
  1) ข้อผิดพลาดที่เกิดจากทั้งภายในและภายนอกตัวเครื่อง( Hardwar )
• หน่วยความจำผิดพลาด (memory error)
  2) ข้อผิดพลาดที่เกิดจากซอฟต์แวร์ (Software)
• หน่วยคำนวณเต็ม (arithmetic overflow)

  4. จงยกตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มา  3  ตัวอย่าง  

4.1 ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
          ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา  

4.2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
         Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) 

  4.3 ระบบปฏิบัติการ Unix
           Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system)

   4.4. ระบบปฏิบัติการ Linux
           Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํางานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX)


อ้างอิง
https://nakizacom.weebly.com
https://preeya034.wordpress.com
http://www.thaigoodview.com/node/60565



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้